วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

สมัยกรุงศรีอยุธยา

        ปรากฎหลักฐานเกี่ยวกับ ดนตรีไทย ในสมัยนี้ ในกฏมลเฑียรบาล ซึ่งระบุชื่อ เครื่องดนตรีไทย เพิ่มขึ้นจากที่เคยระบุไว้ ในหลักฐานสมัยสุโขทัย  จึงน่าจะเป็นเครื่องดนตรีที่เพิ่งเกิดในสมัยนี้ ได้แก่ กระจับปี่ ขลุ่ย จะเข้ และ รำมะนา นอกจากนี้ในกฎมณเฑียรบาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991-2031) ปรากฏข้อห้ามตอนหนึ่งว่า "...ห้ามร้องเพลงเรือเป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีโทนทับ ในเขตพระราชฐาน..." ซึ่งแสดงว่าสมัยนี้ ดนตรีไทย เป็นที่นิยมกันมาก แม้ในเขตพระราชฐาน ก็มีคนไปร้องเพลงและเล่นดนตรีกันเป็นที่เอิกเกริกและเกินพอดี จนกระทั่งพระมหากษัตริย์ต้องทรงออกกฎมลเฑียรบาล ดังกล่าวขึ้นไว้เกี่ยวกับลักษณะของ วงดนตรีไทย ในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาขึ้นกว่าในสมัยสุโขทัย ดังนี้ คือ
   1. วงปี่พาทย์ ในสมัยนี้ ก็ยังคงเป็น วงปี่พาทย์เครื่องห้า เช่นเดียวกับในสมัยสุโขทัย แต่มี ระนาดเอก เพิ่มขึ้น ดังนั้น วงปี่พาทย์เครื่องห้า  ในสมัยนี้ประกอบด้วยเครื่องดนตรี  ดังต่อไปนี้ คือ
          1.ระนาดเอก
          2.ปี่ใน
          3.ฆ้องวง (ใหญ่)
          4.กลองทัด ตะโพน
          5.ฉิ่ง
   2. วงมโหรี ในสมัยนี้พัฒนามาจาก วงมโหรีเครื่องสี่ ในสมัยสุโขทัยเป็น วงมโหรีเครื่องหก เพราะได้เพิ่ม เครื่องดนตรี เข้าไปอีก 2 ชิ้น คือ ขลุ่ยและรำมะนา  ทำให้วงมโหรี ในสมัยนี้ประกอบด้วย เครื่องดนตรี จำนวน 6 ชิ้น คือ
          1.ซอสามสาย
          2.กระจับปี่ (แทนพิณ)
          3.ทับ (โทน)
          4.รำมะนา
          5.ขลุ่ย
          6.กรับพวง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น